วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

ประวัติองค์ไฉ่ซิ้งเอี๊ย


               ไฉ่ซิ่งเอี๊ย เทพเจ้าแห่งโชคลาภองค์นี้ ก่อนที่จะกลายมาเป็นเทพแห่งโชคลาภที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีของชาวจีนนั้น เดิมท่านเป็นมนุษย์มีชีวิตอยู่ในสมัยจีนโบราณซึ่งเรื่องราวของท่านมีกล่าวไว้หลายแห่งหลายเรื่องด้วยกัน
               เรื่องแรก กล่าวว่าท่านมีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์โจว (ประมาณก่อน พ.ศ.591 ปี - พ.ศ. 296)  ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าจางซูกงหมิงฮ่องเต้ ในตำนานกล่าวว่าพระเจ้าจางซูกงหมิงทรงเป็นกษัตริย์ทรราชย์ ทรงปกครองประเทศด้วยความเหี้ยมโหดเอารัดเอาเปรียบ ข่มเหงรังแกประชาชน พระราชกรณียกิจของพระองค์เป็นไปด้วยความเดือดร้อนของประชาชนแทบทั้งสิ้น มักจะลงโทษประหารชีวิตขุนนางและราษฎรโดยไม่มีการไต่สวนมูลคดี ใช้ความพอใจเป็นหลัก ไม่มีความยุติธรรม วันๆ ไม่ทำอะไรเอาแต่มั่วสุรานารี ฯลฯ
               พระเจ้าจางชูกงหมิงเป็นกษัตริย์ที่มีน้ำพระทัยเหี้ยมโหด การได้ครอบครองราชย์บังลังก์ของพระองค์ก็ได้มาจากการแย่งชิงอำนาจจากพระเชษฐา ซึ่งสิ้นพระชนม์ด้วยน้ำมือของพระองค์เอง ด้วยความเหี้ยมโหดและความเป็นทรราชย์ของพระองค์ ทำให้มีขุนนางจำนวนหนึ่งไม่พอใจ จึงคิดจะกู้สถานการณ์บ้านเมืองให้กลับมาสงบเป็นปกติ ได้วางแผนลอบปลงพระชนม์พระเจ้าจางซูกงหมิงเป็นเวลาหลายครั้งหลายหนแต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะทรงระวังพระองค์เสมอมา ผนวกกับความสามารถของพระองค์จึงรอดพ้นมาได้ทุกครา
               ในจำนวนขุนนางตงฉินทั้งหลายก็มีขุนศึกผู้มีความสามารถผู้หนึ่งมีนามว่า “เซียงหมิง” เป็นขุนศึกผู้มีความสามารถมากและเป็นที่โปรดปรานของฮ่องเต้ยิ่งนัก แต่ขุนศึกเซียงหมิงกลับไม่พอใจและไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมชั่งร้ายขององค์ฮ่องเต้เป็นอย่างยิ่ง  แรกๆ พยายามทูลทัดทานและเสนอแนะให้ทรงประพฤติตามทำนองคลองธรรม แต่ฮ่องเต้มิได้สนพระทัยกลับพิโรธโกรธกริ้วที่ขุนศึกเซียงหมิงมาวุ่นวายกับพระองค์จนเกือบจะโดนลงโทษก็หลายครั้ง
               ในที่สุดความอดทนของเซียงหมิงก็หมดไป เพราะความชั่วร้ายของฮ่องเต้กลับทวียิ่งขึ้นมิได้ลดลงไปแม้แต่น้อย ความเดือดร้อนของประชาชนก็ยิ่งมีมากขึ้น ขุนศึกเซียงหมิงจึงก่อการกบฏ พาสมัครพรรคพวกที่เกลียดชังพฤติกรรมของฮ่องเต้บุกเข้าพระราชวังหลวงเข้าสู้รบตัวต่อตัวกับพระเจ้าจางซูกงหมิง แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะได้ วันเวลาผ่านไปสามวังสามคืน ผลก็คือไม่มีใครแพ้ใครชนะ แต่ทหารและผู้คนรอบข้างบาดเจ็บล้มตายไปเป็นจำนวนมาก
               เมื่อเป็นเช่นนั้นขุนศึกเซียงหมิงจึงจำเป็นต้องหลบหนีออกไปจากพระราชวังหลวงก่อน เพื่อหาวิธีจัดการกับฮ่องเต้อีกที สำหรับเซี่ยงหมิงนี้นอกจากจะมีฝีมือในการต่อสู้และการรบแล้ว ยังมีวิชาความรู้ทางด้านคาถาอาคมและไสยศาสตร์อีกด้วย จึงใช้วิธีการทางไสยศาสตร์และคาถาอาคมเข้าช่วย โดยนำฟางมามัดเป็นรูปคนสมมติให้เป็นร่างของฮ่องเต้ และจารึกพระนามของพระเจ้าจางซูกงหมิงไว้ที่หุ่นฟางนั้น
               จากนั้นก็จัดการร่ายเวทย์มนต์คาถาใส่ไปในหุ่นฟางขององค์ฮ่องเต้เป็นเวลาถึง 20 วัน ไม่ยอมลุกไปไหน ครั้งต่อมาในวันรุ่งขึ้นของวันที่ 23 ของการประกอบพิธี โดยยิงธนูอาคมไปที่ดวงตาทั้งสองข้างและหน้าอกหุ่นฟางของฮ่องเต้ ก่อให้หเกิดไฟไหม้กลายเป็นเถ้าธุลีไปในพริบตาและพร้อมๆ กันนั้นภายในพระราชวังหลวงพระเจ้าจางซูกงหมิงก็ทรงพระประชวรหนักโดยไม่รู้สาเหตุ บรรดาขุนนางจัดการประชุมหมอหลวงทั่วประเทศก็ไม่สามารถเยียวยารักษาได้ หลังจากนั้นเป็นเวลา 3 วัน พระเจ้าจางซูกงหมิงก็เสด็จสวรรคต ความสงบร่มเย็นก็กลับคืนมาสู่แผ่นดินจีนอีกครั้ง
               วีรกรรมในครั้งนี้ทำให้ขุนศึกเซียงหมิงได้รับการยกย่องจากประชาชนชาวจีนให้เป็นเทพแห่งความมั่งคั่ง มั่นคง และเป็นสัญลักษณ์ของดวงดาวแห่งโชคลาภ และขนานนามให้ใหม่ว่า “ไฉ่ซิ้งเอี๊ย” และนิยมนับถือกันมาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจวบจนปัจจุบัน
               เรื่องที่สอง เป็นตำนานของมณฑลยูนาน ได้กล่าวถึงความเป็นมาของไฉ่ซิ้งเอี๊ยไว้ว่า เมื่อครั้งที่ท่านยังเป็นมนุษย์ ท่านเป็นผู้พิพากษามีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 6 ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าจางหวู่ฮ่องเต้แห่งราชวงศ์จิว ท่านเป็นผู้พิพากษาที่มีความเที่ยงตรงในการพิพากษาอรรถคดีต่างๆ เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยจากองค์ฮ่องเต้ยิ่งนัก นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่มีจิตใจเมตตากรุณาต่อประชาชนยิ่ง
               ในขณะนั้นในมณฑลยูนานเกิดฝนแล้งพืชผลำร่นาเสียหายมาก ประชาชนประสบความอดยากและแร้นแค้น ในฐานะที่ท่านรับราชการอยู่ที่มณฑลยูนาน ม่านเห็นว่าประชาชนได้รับความเดือดร้อนเช้นนั้น และยังต้องนำภาษีเสียแก่ราชสำนักอีก ลำพังจะกินยังไม่มีแล้วจะเอาเงินที่ไหนไปเสียภาษี ท่านจึงเข้าเฝ้าฮ่องเต้และกราบทูลเสนอให้ทรงงดเว้นการเก็บภาษีจากประชาชนที่ยากจนในมณฑลยูนาน ซึ่งองค์ฮ่องเต้ก็มิได้ทรงขัดข้อง กลับทรงชื่นชมในความมีเมตตาของท่านผู้พิพากษา
และนับแต่นั้นเป็นต้นมา ท่านก็ได้รับการยกย่องจากชาวจีนในมณฑลยูนาน และชาวจีนโดยทั่วไปให้เป็นเทพแห่งความมั่งคั่ง และเป็นดวงดาวแห่งโชคลาภ
จะเห็นได้ว่าความเป็นมาของไฉ่ซิ้งเอี๊ยแม้จะแตกต่างกัน แต่ก็มีความเหมือนกันก็คือ ท่านเป็นเทพแห่งความโชคดี ความมั่งคั่ง และความร่ำรวย ซึ่งชาวจีนโดยทั่วไปจะให้ความสำคัญกับเทพองค์นี้เป็นอย่างยิ่ง




อานุภาพของไฉ่ซิ้งเอี๊ย
1.ไฉ่ซิ้งเอี๊ยในภาคบู้ เป็นรูปของไฉ่ซิ้งเอี๊ยที่อยู่ในวัยกลางคนสวมใส่ชุดนักรบจีนโบราณ อันประกอบไปดวยชุดเกราะ หมวกขุนพลจีนโบราณ มือซ้ายจะถือกระบอง มือขวาถือเงินหยวน ใบหน้าดุดันค่อนไปในทางเหี๊ยมโหด และมีพาหนะเป็นเสือโคร่งลายพาดกลอนตัวใหญ่ ชาวจีนที่นับถือเชื่อกันว่าจะมีอานุภาพให้คุณแก่ผู้บูชาในเรื่องของหนี้สิน กล่าวคือจะช่วยดลบันดาลให้ผู้บูชาที่เป็นเจ้าหนี้สามารถทวงหนี้จากลูกหนี้ได้ง่ายยิ่งขึ้น ลูกหนี้ไม่คิดที่จะเบี้ยวหรือหนีให้เจ้าหนี้ต้องลำบากลำบน รวมไปถึงช่วยดูแล ควบคุมบริวารลูกจ้างทั้งหลายให้อยู่ในกรอบในระเบียบ ให้ขยันทำการทำงาน โดยเฉพาะตามโรงงานใหญ่ หรือบริษัทใหญ่ๆ ตลอดจนกิจการงานที่มีลูกน้องมากๆ ต่างนิยมบูชาไฉ่ซิ้งเอี๊ยในภาคบู้นี้ด้วย มีความเชื่อว่าท่านจะช่วยกำชับดูแลลูกน้องให้ดี เป็นหูเป็นตาให้แก่ผู้บูชา หรือเจ้าของกิจการ ทั้งนี้และทั้งนั้นยังรวมไปถึงบรรดาข้าราชการ การทหาร ตำรวจระดับชั้นสูงๆ ที่มีผู้ใต้บังคับบัญชามากๆ ต่างนิยมบูชาไฉ่ซิ้งเอี๊ยในภาคบู้ด้วยกันทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังมีอานุภาพในการคุ้มครองบุตรภรรยาทั้งที่อยู่ในบ้าน และต่างถิ่นแดนไกลให้ทำตนเป็นคนดีมีความขยันหมั่นเพียรไม่เกียจคร้าน
2.ไฉ่ซิ้งเอี๊ยในภาคบุ๋น  เป็นรูปของไฉ่ซิ้งเอี๊ยอยู่มนชุดขุนนางชั้นผู้ใหญ่ของจีนโบราณ สวมหมวกขุนนาง มีปีกออกไปสองข้าง มือซ้ายจะถือเงินหยวน หรือบางทีไม่ได้ถืออะไร แต่มือทั้งสองจะถือเป็นผ้าจารึกอักษร (ปัก) ที่คลี่ออกมาเป็นคำอวยพรที่เป็นสิริมงคลแก่ผู้บูชา ชาวจีนเชื่อว่าไฉ่ซิ้งเอี๊ยในภาคบุ๋นนี้จะแนวยพรให้ผู้บูชามีความมั่งคั้ง มีความร่ำรวย และมีโชคลาภเป็นประจำ โชคลาภที่ได้เป็นรายได้พิเศษที่นอกเหนือไปจากรายได้ประจำ
ไฉ่ซิ้งเอี๊ยในภาคนี้จะมีอานุภาพในด้านเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ และโชคลาภที่ถือเป็นรายได้รายรับที่จะทำให้ผู้บูชามีความมั่งคั้ง และมีความร่ำรวยเปรียบดังนักการทูตที่ดี มีความสามารถในการเจรจาโน้มน้าวให้ต่างชาติต่างภาษามีความเชื่อถือในประเทศของตน และเช่นเดียวกันทำให้ลูกค้าเชื่อถือในคุณภาพสินค้าและบริการ และกลายเป็นลูกค้าประจำ


ไม่มีความคิดเห็น: