วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

วันรับเจ้า

วันรับเจ้า
เป็นวันเจียห่วย ชิวสี่ ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2555 ไหว้ตั้งแต่ช่วงเช้าถึงก่อนเที่ยง วันรับเจ้าเป็นประเพณีที่สืบทอดมาแต่โบราณ โดยจะไหว้กันในวันเจียห่วย ชิวสี่ ตามปฏิทินจีนเป็นประจำทุกปี


เครื่องบูชาสำหรับรับเจ้า
1.ส้ม 5 ผล
2.ขนมจันอับ 1 จาน
3.หงิ่งเตี๋ย 13 ชุด
4.ม้า 5 ตัว(ใช้ตั่วกิมตัด)
5.น้ำชา 5 ถ้วย
6.ธูป 5 ดอก


สำหรับท่านที่ไม่ได้ไหว้ สามารถไหว้อีกครั้งได้ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2555 

การไหว้สะเดาะเคราะห์ประจำปี 2555


วิธีการไหว้ไท้ส่วย
       ปีนี้เป็นปีมะโรง(มังกรธาตุน้ำ) ในปีนี้ผู้ที่ควรไหว้องค์ไท้ส่วย คือ ท่านที่เกิดปีจอ (ชงโดยตรงกับองค์ไท้ส่วย) ท่านที่เกิดปีมะโรง (ทับไท้ส่วย) ปีฉลู ปีมะแม (ปีร่วมชง) และท่านที่เกิดในปีนักษัตรดังต่อไปนี้ ควรพกพาจี้องค์ไท้ส่วยประจำปี 2555 (องค์แผ่ไท่ไต่เจียงกุง) เพื่อคุ้มครองดวงชะตาท่านตลอดปี
1.       ท่านที่เกิดปี พ.ศ. 2462 อายุ 93 ปี เป็นปีมะแม
2.       ท่านที่เกิดปี พ.ศ. 2471 อายุ 84 ปี เป็นปีมะโรง
3.       ท่านที่เกิดปี พ.ศ. 2480 อายุ 75 ปี เป็นปีฉลู
4.       ท่านที่เกิดปี พ.ศ. 2489 อายุ 66 ปี เป็นปีจอ
5.       ท่านที่เกิดปี พ.ศ. 2504 อายุ 51 ปี เป็นปีฉลู
6.       ท่านที่เกิดปี พ.ศ. 2513 อายุ 42 ปี เป็นปีจอ
7.       ท่านที่เกิดปี พ.ศ. 2522 อายุ 33 ปี เป็นปีมะแม
8.       ท่านที่เกิดปี พ.ศ. 2531 อายุ 24 ปี เป็นปีมะโรง
9.       ท่านที่เกิดปี พ.ศ. 2540 อายุ 15 ปี เป็นปีฉลู
10.     ท่านที่เกิดปี พ.ศ. 2549 อายุ   6 ปี เป็นปีจอ

       สำหรับผู้ที่เกิดในปี พ.ศ. ดังที่กล่าวมานี้ ในปีนี้ห้ามเป็นเจ้าภาพหรือเข้าร่วมพิธีในงานศพ และควรหลีกเลี่ยงการไปงานศพ แต่หากท่านไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ก็ขอให้ละเว้นการไปดูศพเวลาฝังหรือแม้แต่การส่งศพ เพราะทั้ง 10 ปีนี้เป็น “ไท้ส่วยเฮี้ยบจี่จู้” แปลว่า ไท้ส่วยตรงเจ้าพิธี นอกจากจะนำพาสิ่งอัปมงคลทั้งหลายมาให้แล้ว ยังถือเป็นการหมิ่นและลบหลู่ต่อองค์ไท้ส่วยอีกด้วย ส่วนปีเกิดนอกเหนือจากนี้ ก็ควรไหว้องค์ไท้ส่วยประจำปี 2555 ด้วย เพราะถือเป็นเทพเจ้าคุ้มครองดวงชะตา ที่จรมาประจำปีนี้และเป็นมงคลคุ้มครองป้องกัน ปัดเป่าความโชคร้ายมัวหมองให้ผ่านพ้นปีนี้ไป
   
       วิธีการไหว้สะเดาะเคราะห์ประจำปี
       ของที่ใช้ในการไหว้สะเดาะเคราะห์ ให้จัดใส่กระทง โดยมี ข้าวสวย 1 ถ้วย ไข่ต้มปอกเปลือก 1 ฟอง ปลาหมึกแห้ง 1 ตัว หมูสามชั้นต้มสุก 1 ชิ้น ธูป 13 ดอก กระดาษแดงเขียนคำว่า 'ไท้ส่วยแชกุง'(เขียนเป็นภาษาจีน โดยให้พิมพ์จากภาพตัวอย่าง)



       ให้ไหว้ตรงทางสามแพ่งหรือริมถนนมืดๆ หลังพระอาทิตย์ตก โดยวางของไหว้และจุดธูป และกล่าวคำว่า 'ขออภัยต่อเจ้ากรรมนายเวร อย่าได้มีเวรแก่กันเลย ขอให้หมดความทุกข์และอุปสรรคทั้งปวง ขอให้ช่วยขจัดเรื่องร้ายให้กลายเป็นดี' หลังจากนั้นให้เผากระดาษแดงจนมอด แล้วค่อยปักธูป เสร็จพิธีให้หันหลังกลับโดยไม่ต้องหันกลับไปมอง ในส่วนของไหว้ให้วางไว้ตรงจุดที่ไหว้โดยไม่ต้องนำกลับมา

       เริ่มไหว้หลังวันที่ 4 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป หรือจะเลือกไหว้วันใดก็ได้ตามแต่สะดวก โดยให้ไหว้แค่ 1 ครั้งใน 1 ปี เท่านั้น


หากท่านมีปัญหาในการเตรียมของไหว้ สามารถมาพบซินแส ธณัฐ์ชัย รัตนะเจริญคุณ เพื่อสอบถามได้ หรือโทรมาสอบถามได้ที่หมายเลข 089-4034877

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

แบบสำหรับทำเทียบเชิญ

 

แบบสำหรับทำเทียบเชิญ 12 พับ แบบโบราณ สำหรับการไหว้เทพเจ้าไฉ่ซิ้งเอี๊ย
 
 
เทียบเชิญองค์เทพเจ้าไฉ่ซิ้งเอี๊ย
ให้ใช้กระดาษสีแดงขนาดกระดาษ A4 จำนวน 3 แผ่น นำมาต่อกัน
เขียนตัวอักษรจีนตามภาพ
โดยเขียนตัวอักษรจีนให้อยู่ทางด้านขวาของเทียบเชิญ
เสร็จแล้วให้พับจากด้านขวาโดยดูแบบจากเทียบสำหรับขอพร



คลิกที่ภาพเพื่อขยายและดาวน์โหลด



เทียบสำหรับขอพร
ให้ใช้กระดาษสีเขียวขนาดกระดาษ A4 จำนวน 3 แผ่น นำมาต่อกัน
พิมพ์ภาพตามแบบด้านล่าง
พับตามรอยขีด บน-ล่าง โดยให้เริ่มพับจากทางด้านขวาของเทียบ
(พับในลักษณะเดียวกับวิธีการพับพัด)




  
คลิกที่ภาพเพื่อขยายและดาวน์โหลด

 
เทียบที่ต่อสำเร็จแล้ว

ให้เขียนชื่อ - นามสกุล วัน เดือน ปี และเวลาเกิด ของทุกคนในบ้านลงไปในเทียบขอพร
ในส่วนของดวงจีน ถ้าไม่ทราบให้เว้นว่างไว้


หากท่านมีปัญหาในการเตรียมของไหว้เช่นเทียบเชิญ หรือของไหว้บางอย่าง สามารถมาพบซินแส ธณัฐ์ชัย รัตนะเจริญคุณ เพื่อสอบถามได้ หรือโทรมาสอบถามได้ที่หมายเลข 089-4034877 

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

ประวัติองค์ไฉ่ซิ้งเอี๊ย


               ไฉ่ซิ่งเอี๊ย เทพเจ้าแห่งโชคลาภองค์นี้ ก่อนที่จะกลายมาเป็นเทพแห่งโชคลาภที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีของชาวจีนนั้น เดิมท่านเป็นมนุษย์มีชีวิตอยู่ในสมัยจีนโบราณซึ่งเรื่องราวของท่านมีกล่าวไว้หลายแห่งหลายเรื่องด้วยกัน
               เรื่องแรก กล่าวว่าท่านมีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์โจว (ประมาณก่อน พ.ศ.591 ปี - พ.ศ. 296)  ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าจางซูกงหมิงฮ่องเต้ ในตำนานกล่าวว่าพระเจ้าจางซูกงหมิงทรงเป็นกษัตริย์ทรราชย์ ทรงปกครองประเทศด้วยความเหี้ยมโหดเอารัดเอาเปรียบ ข่มเหงรังแกประชาชน พระราชกรณียกิจของพระองค์เป็นไปด้วยความเดือดร้อนของประชาชนแทบทั้งสิ้น มักจะลงโทษประหารชีวิตขุนนางและราษฎรโดยไม่มีการไต่สวนมูลคดี ใช้ความพอใจเป็นหลัก ไม่มีความยุติธรรม วันๆ ไม่ทำอะไรเอาแต่มั่วสุรานารี ฯลฯ
               พระเจ้าจางชูกงหมิงเป็นกษัตริย์ที่มีน้ำพระทัยเหี้ยมโหด การได้ครอบครองราชย์บังลังก์ของพระองค์ก็ได้มาจากการแย่งชิงอำนาจจากพระเชษฐา ซึ่งสิ้นพระชนม์ด้วยน้ำมือของพระองค์เอง ด้วยความเหี้ยมโหดและความเป็นทรราชย์ของพระองค์ ทำให้มีขุนนางจำนวนหนึ่งไม่พอใจ จึงคิดจะกู้สถานการณ์บ้านเมืองให้กลับมาสงบเป็นปกติ ได้วางแผนลอบปลงพระชนม์พระเจ้าจางซูกงหมิงเป็นเวลาหลายครั้งหลายหนแต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะทรงระวังพระองค์เสมอมา ผนวกกับความสามารถของพระองค์จึงรอดพ้นมาได้ทุกครา
               ในจำนวนขุนนางตงฉินทั้งหลายก็มีขุนศึกผู้มีความสามารถผู้หนึ่งมีนามว่า “เซียงหมิง” เป็นขุนศึกผู้มีความสามารถมากและเป็นที่โปรดปรานของฮ่องเต้ยิ่งนัก แต่ขุนศึกเซียงหมิงกลับไม่พอใจและไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมชั่งร้ายขององค์ฮ่องเต้เป็นอย่างยิ่ง  แรกๆ พยายามทูลทัดทานและเสนอแนะให้ทรงประพฤติตามทำนองคลองธรรม แต่ฮ่องเต้มิได้สนพระทัยกลับพิโรธโกรธกริ้วที่ขุนศึกเซียงหมิงมาวุ่นวายกับพระองค์จนเกือบจะโดนลงโทษก็หลายครั้ง
               ในที่สุดความอดทนของเซียงหมิงก็หมดไป เพราะความชั่วร้ายของฮ่องเต้กลับทวียิ่งขึ้นมิได้ลดลงไปแม้แต่น้อย ความเดือดร้อนของประชาชนก็ยิ่งมีมากขึ้น ขุนศึกเซียงหมิงจึงก่อการกบฏ พาสมัครพรรคพวกที่เกลียดชังพฤติกรรมของฮ่องเต้บุกเข้าพระราชวังหลวงเข้าสู้รบตัวต่อตัวกับพระเจ้าจางซูกงหมิง แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะได้ วันเวลาผ่านไปสามวังสามคืน ผลก็คือไม่มีใครแพ้ใครชนะ แต่ทหารและผู้คนรอบข้างบาดเจ็บล้มตายไปเป็นจำนวนมาก
               เมื่อเป็นเช่นนั้นขุนศึกเซียงหมิงจึงจำเป็นต้องหลบหนีออกไปจากพระราชวังหลวงก่อน เพื่อหาวิธีจัดการกับฮ่องเต้อีกที สำหรับเซี่ยงหมิงนี้นอกจากจะมีฝีมือในการต่อสู้และการรบแล้ว ยังมีวิชาความรู้ทางด้านคาถาอาคมและไสยศาสตร์อีกด้วย จึงใช้วิธีการทางไสยศาสตร์และคาถาอาคมเข้าช่วย โดยนำฟางมามัดเป็นรูปคนสมมติให้เป็นร่างของฮ่องเต้ และจารึกพระนามของพระเจ้าจางซูกงหมิงไว้ที่หุ่นฟางนั้น
               จากนั้นก็จัดการร่ายเวทย์มนต์คาถาใส่ไปในหุ่นฟางขององค์ฮ่องเต้เป็นเวลาถึง 20 วัน ไม่ยอมลุกไปไหน ครั้งต่อมาในวันรุ่งขึ้นของวันที่ 23 ของการประกอบพิธี โดยยิงธนูอาคมไปที่ดวงตาทั้งสองข้างและหน้าอกหุ่นฟางของฮ่องเต้ ก่อให้หเกิดไฟไหม้กลายเป็นเถ้าธุลีไปในพริบตาและพร้อมๆ กันนั้นภายในพระราชวังหลวงพระเจ้าจางซูกงหมิงก็ทรงพระประชวรหนักโดยไม่รู้สาเหตุ บรรดาขุนนางจัดการประชุมหมอหลวงทั่วประเทศก็ไม่สามารถเยียวยารักษาได้ หลังจากนั้นเป็นเวลา 3 วัน พระเจ้าจางซูกงหมิงก็เสด็จสวรรคต ความสงบร่มเย็นก็กลับคืนมาสู่แผ่นดินจีนอีกครั้ง
               วีรกรรมในครั้งนี้ทำให้ขุนศึกเซียงหมิงได้รับการยกย่องจากประชาชนชาวจีนให้เป็นเทพแห่งความมั่งคั่ง มั่นคง และเป็นสัญลักษณ์ของดวงดาวแห่งโชคลาภ และขนานนามให้ใหม่ว่า “ไฉ่ซิ้งเอี๊ย” และนิยมนับถือกันมาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจวบจนปัจจุบัน
               เรื่องที่สอง เป็นตำนานของมณฑลยูนาน ได้กล่าวถึงความเป็นมาของไฉ่ซิ้งเอี๊ยไว้ว่า เมื่อครั้งที่ท่านยังเป็นมนุษย์ ท่านเป็นผู้พิพากษามีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 6 ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าจางหวู่ฮ่องเต้แห่งราชวงศ์จิว ท่านเป็นผู้พิพากษาที่มีความเที่ยงตรงในการพิพากษาอรรถคดีต่างๆ เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยจากองค์ฮ่องเต้ยิ่งนัก นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่มีจิตใจเมตตากรุณาต่อประชาชนยิ่ง
               ในขณะนั้นในมณฑลยูนานเกิดฝนแล้งพืชผลำร่นาเสียหายมาก ประชาชนประสบความอดยากและแร้นแค้น ในฐานะที่ท่านรับราชการอยู่ที่มณฑลยูนาน ม่านเห็นว่าประชาชนได้รับความเดือดร้อนเช้นนั้น และยังต้องนำภาษีเสียแก่ราชสำนักอีก ลำพังจะกินยังไม่มีแล้วจะเอาเงินที่ไหนไปเสียภาษี ท่านจึงเข้าเฝ้าฮ่องเต้และกราบทูลเสนอให้ทรงงดเว้นการเก็บภาษีจากประชาชนที่ยากจนในมณฑลยูนาน ซึ่งองค์ฮ่องเต้ก็มิได้ทรงขัดข้อง กลับทรงชื่นชมในความมีเมตตาของท่านผู้พิพากษา
และนับแต่นั้นเป็นต้นมา ท่านก็ได้รับการยกย่องจากชาวจีนในมณฑลยูนาน และชาวจีนโดยทั่วไปให้เป็นเทพแห่งความมั่งคั่ง และเป็นดวงดาวแห่งโชคลาภ
จะเห็นได้ว่าความเป็นมาของไฉ่ซิ้งเอี๊ยแม้จะแตกต่างกัน แต่ก็มีความเหมือนกันก็คือ ท่านเป็นเทพแห่งความโชคดี ความมั่งคั่ง และความร่ำรวย ซึ่งชาวจีนโดยทั่วไปจะให้ความสำคัญกับเทพองค์นี้เป็นอย่างยิ่ง




อานุภาพของไฉ่ซิ้งเอี๊ย
1.ไฉ่ซิ้งเอี๊ยในภาคบู้ เป็นรูปของไฉ่ซิ้งเอี๊ยที่อยู่ในวัยกลางคนสวมใส่ชุดนักรบจีนโบราณ อันประกอบไปดวยชุดเกราะ หมวกขุนพลจีนโบราณ มือซ้ายจะถือกระบอง มือขวาถือเงินหยวน ใบหน้าดุดันค่อนไปในทางเหี๊ยมโหด และมีพาหนะเป็นเสือโคร่งลายพาดกลอนตัวใหญ่ ชาวจีนที่นับถือเชื่อกันว่าจะมีอานุภาพให้คุณแก่ผู้บูชาในเรื่องของหนี้สิน กล่าวคือจะช่วยดลบันดาลให้ผู้บูชาที่เป็นเจ้าหนี้สามารถทวงหนี้จากลูกหนี้ได้ง่ายยิ่งขึ้น ลูกหนี้ไม่คิดที่จะเบี้ยวหรือหนีให้เจ้าหนี้ต้องลำบากลำบน รวมไปถึงช่วยดูแล ควบคุมบริวารลูกจ้างทั้งหลายให้อยู่ในกรอบในระเบียบ ให้ขยันทำการทำงาน โดยเฉพาะตามโรงงานใหญ่ หรือบริษัทใหญ่ๆ ตลอดจนกิจการงานที่มีลูกน้องมากๆ ต่างนิยมบูชาไฉ่ซิ้งเอี๊ยในภาคบู้นี้ด้วย มีความเชื่อว่าท่านจะช่วยกำชับดูแลลูกน้องให้ดี เป็นหูเป็นตาให้แก่ผู้บูชา หรือเจ้าของกิจการ ทั้งนี้และทั้งนั้นยังรวมไปถึงบรรดาข้าราชการ การทหาร ตำรวจระดับชั้นสูงๆ ที่มีผู้ใต้บังคับบัญชามากๆ ต่างนิยมบูชาไฉ่ซิ้งเอี๊ยในภาคบู้ด้วยกันทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังมีอานุภาพในการคุ้มครองบุตรภรรยาทั้งที่อยู่ในบ้าน และต่างถิ่นแดนไกลให้ทำตนเป็นคนดีมีความขยันหมั่นเพียรไม่เกียจคร้าน
2.ไฉ่ซิ้งเอี๊ยในภาคบุ๋น  เป็นรูปของไฉ่ซิ้งเอี๊ยอยู่มนชุดขุนนางชั้นผู้ใหญ่ของจีนโบราณ สวมหมวกขุนนาง มีปีกออกไปสองข้าง มือซ้ายจะถือเงินหยวน หรือบางทีไม่ได้ถืออะไร แต่มือทั้งสองจะถือเป็นผ้าจารึกอักษร (ปัก) ที่คลี่ออกมาเป็นคำอวยพรที่เป็นสิริมงคลแก่ผู้บูชา ชาวจีนเชื่อว่าไฉ่ซิ้งเอี๊ยในภาคบุ๋นนี้จะแนวยพรให้ผู้บูชามีความมั่งคั้ง มีความร่ำรวย และมีโชคลาภเป็นประจำ โชคลาภที่ได้เป็นรายได้พิเศษที่นอกเหนือไปจากรายได้ประจำ
ไฉ่ซิ้งเอี๊ยในภาคนี้จะมีอานุภาพในด้านเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ และโชคลาภที่ถือเป็นรายได้รายรับที่จะทำให้ผู้บูชามีความมั่งคั้ง และมีความร่ำรวยเปรียบดังนักการทูตที่ดี มีความสามารถในการเจรจาโน้มน้าวให้ต่างชาติต่างภาษามีความเชื่อถือในประเทศของตน และเช่นเดียวกันทำให้ลูกค้าเชื่อถือในคุณภาพสินค้าและบริการ และกลายเป็นลูกค้าประจำ


วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

วันตรุษจีน



วันตรุษจีน

ไหว้เทพเจ้าไฉ่ซิ้งเอี๊ย

(เทพเจ้าแห่งโชคลาภ ความมั่งคั่ง ร่ำรวย)

เป็นวันเจียห่วยชิวอิก ตรงกับวันที่ 1 เดือน 1 ของจีน (ในปีนี้ตรงกับวันที่ 23 มกราคม 2555) ดังนั้นเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองและครอบครัว ในวันปีใหม่จีน จึงไหว้เทพแห่งความมั่งคั่ง มั่นคง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของดวงดาวแห่งโชคลาภนามว่า “ไฉ่ซิ้งเอี๊ย” นี้ เป็นที่นิยมนับถือในหมู่ชาวจีนผู้ประกอบการค้ามาช้านานจวบจนปัจจุบัน การอันเชิญเทพเจ้าไฉ่ซิ้งเอี๊ยมาประทับในบ้านเรือนของตนในวันปีใหม่ (ตรุษจีน) ก็ยังเป็นที่นิยมทำกันอยู่ เนื่องจากท่านมีอานุภาพในด้านการอำนวยโชคลาภ ความมั่งคั่งร่ำรวย ให้แก่ผู้บูชา ซึ่งหากรู้จักวิธีการบูชาให้ถูกต้องก็จะส่งผลให้ท่านมีโชคลาภบริบูรณ์ยิ่งๆขึ้นไปตลอดปี ด้วยเหตุนี้เองชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีน จึงมีพิธีปฏิบัติในการเซ่นไหว้เทพเจ้าแห่งโชคลาภในวันตรุษจีน

เครื่องสักการบูชาเทพเจ้าแห่งโชคลาภ
1.      รูปภาพหรือรูปปั้นองค์เทพเจ้าแห่งโชคลาภ ถ้าหากไม่มีก็ให้กล่าวถึงและหันหน้าไปทางทิศจะเสด็จมา
2.      แจกันดอกไม้สด 1 คู่
3.      เทียนแดง 1 คู่
4.      กระถางธูป 1 ใบ
5.      ธูป 3 ดอก/ท่าน
6.      หงิ่งเตี๋ย 13 ชุด (เนื่องจากในปีนี้ตามปฏิทินจีนถือว่ามีเดือน 4 ถึง 2 ครั้ง จึงต้องใช้ 13 ชุด)
7.      กิมหงิ่งเต้า 1 คู่
8.      เทียงเถ้าจี้ 1 ชุด
9.      ค้อซี(ตั่วกิม) 1 ชุด
10.   ผลไม้ 5 อย่าง
11.   สาคูแดงต้มสุกหรือบัวลอย 5 ถ้วย
12.   น้ำชา 5 ถ้วย
13.   ข้าวสวย 5 ถ้วย
14.   อาหารเจ 5 อย่าง
15.   ขนมจันอับ 1 จาน
16.   กระดาษสีเขียว 1 แผ่น (เทียบสีเขียว)
17.   เทียบเชิญสีแดง 1 แผ่น

วิธีสักการบูชาเทพเจ้าแห่งโชคลาภ (ไฉ่ซิ้งเอี๊ย)

ในการประกอบพิธีเซ่นไหว้ ท่านต้องจัดของทุกอย่างลงบนโต๊ะ พร้อมหันหน้าไปทางทิศที่เทพเจ้าไฉ่ซิ้งเอี๊ยจะเสด็จมาในปีนี้ และครวจัดโต๊ะให้เสร็จก่อนเวลาที่ท่านจะเสด็จมาเล็กน้อย โดยกระดาษสีเขียวมีไว้สำหรับเขียน ชื่อ-นามสกุล และวันเดือนปีเกิดของบุคคลในบ้านของท่านทุกคน ส่วนเทียบเชิญสีแดงมีไว้สำหรับเขียนคำเชิญเทพเจ้าเพื่อมารับเครื่องสักการบูชาที่ได้จัดเตรียมไว้
สำหรับคำกล่าวอันเชิญองค์เทพเจ้าไฉ่ซิ้งเอี๊ย ครวเปล่งเสียงออกมาโดยเริ่มกล่าวว่า “วันนี้ข้าพเจ้านาม....................ขอเรียนเชิญองค์ไฉ่ซิ้งมารับเครื่องสักการบูชา ซึ่งมี(กล่าวถึงสิ่งที่ได้นำมาถวาย) และหลังจากท่านได้รับเครื่องสักการะเหล่านี้แล้ว จงประทานพรให้ครอบครัวของข้าพเจ้าทุกคน จงประสบแต่โชคลาภ ความสุขและความสำเร็จ สมดังที่มุ่งหวังทุกประการ (หากท่านประสงค์สิ่งไดไว้ก็ขอต่อไปได้)” หลังจากเสร็จพิธีแล้วให้นำของไหว้ที่เป็นกระดาษทั้งหมด รวมถึงกระดาษสีเขียวและเทียบเชิญสีแดงไปเผาไฟ จึงจะสัมฤทธิ์ผล

ทิศทางและช่วงเวลาในการไหว้เทพเจ้าไฉ่ซิ้งเอี๊ย

               ปีนี้ในการไหว้เทพเจ้าไฉ่ซิ้งเอี๊ยให้หันหน้าไปทางทิศใต้ ช่วงเวลาที่ดีในการไหว้คือเวลา 03.00-05.00 น. คืนวันที่ 22 มกราคม 2555 (เช้าวันที่ 23 มกราคม 2555)

               หากท่านมีปัญหาในการเตรียมของไหว้เช่นเทียบเชิญ หรือของไหว้บางอย่าง สามารถมาพบซินแส ธณัฐ์ชัย รัตนะเจริญคุณ เพื่อสอบถามได้ หรือโทรมาสอบถามได้ที่หมายเลข 089-4034877

วันสิ้นปีจีน

วันสิ้นปีจีน
ไหว้ตี่จู๋เอี๊ย บรรพบุรุษ ผีไม่มีญาติ(ห่อเฮียตี๋)
ตรงกับวันจับหยี่ห่วยซาจั๊บ ตรงกับวันที่ 30 เดือน 12 ของจีน ไหว้ก่อนตรุษจีน 1 วัน ไหว้ตั้งแต่เช้าถึงก่อนเที่ยง (ในปีนี้ตรงกับวันที่ 22 มกราคม 2555)
ของไหว้
1.กระถางธูป
2.เทียนแดง 1 คู่
3.ธูป 3 หรือ 5 ดอก
4.แจกันใส่ดอกไม้สดหรือพวงมาลัยก็ได้
5.ซาแซ หรือโหงวแซ
6.ผลไม้ 5 อย่าง
7.ข้าวสวย 5 ถ้วย
8.กับข้าว
9.กระดาษเงินกระดาษทอง
วีธีไหว้
หลังจากไหว้ตี่จู๋เอี๊ยแล้ว ก็มาไหว้เทพเจ้าในบ้านแล้วจึงมาไหว้บรรพบุรุษ โดยไหว้กลางแจ้งหรือไหว้ในบ้าน หน้ารูปถ่ายกระถางธูปของบรรพบุรุษก็ได้


สนใจสินค้าเสริมดวงชะตา ติดต่อ 038-455381  089-4034877